ข้อมูลโภชนาการสำคัญอย่างไรกับการดูแลผู้สูงอายุ

ข้อมูลโภชนาการสำคัญอย่างไรกับการดูแลผู้สูงอายุ

การเลือกรับประทานอาหารที่ดี อุดมไปด้วยโภชนาการที่ดี เป็นพื้นฐานสำคัญของการดำรงชีวิตอยู่ของคนเรา ดังคำที่บอกว่า “You are what you eat” โดยเฉพาะอย่างยิ่งโภชนาการกับการดูแลผู้สูงอายุ เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญมาเป็นอันดับแรก เพราะการรับประทานอาหารที่ดี มีสารอาหารครบ 5 หมู่ จะช่วยให้ร่างกายของผู้สูงอายุแข็งแรง ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ที่อาจจะตามมาเมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น

ความสำคัญของโภชนาการที่ดีกับการดูแลผู้สูงอายุ

หลายคนอาจจะสงสัยว่า โภชนาการที่ดีคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการดูแลผู้สูงอายุ วันนี้เราจะพาทุกท่านไปไขข้อข้องใจเหล่านี้กัน

อันดับแรกต้องรู้ก่อนว่าโภชนาการคืออะไร โภชนาการ คือ อาหารที่รับประทานแล้วได้สารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย สามารถช่วยพัฒนาให้ร่างกายเจริญเติบโตแข็งแรง และทำหน้าที่ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอต่าง ๆ ในร่างกายให้สามารถใช้งานได้ปกติ เช่น สารอาหารประเภทโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน แร่ธาตุและวิตามิน โภชนาการจะแตกต่างจากอาหาร เพราะอาหารที่รับประทานนั้นมีทั้งดีและไม่ดี แต่โภชนาการจะมีแต่สารอาหารที่มีประโยชน์ และส่งผลดีต่อร่างกาย

โภชนาการที่ดีจึงสำคัญกับการดูแลผู้สูงอายุ เพราะคนที่มีอายุมากย่อมต้องการสารอาหารที่แตกต่างและเฉพาะเจาะจงกว่าวัยอื่น ดังนั้นผู้ที่มีหน้าที่ดูแลผู้สูงอายุจึงควรศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ เพราะผู้สูงอายุแต่ละคนมักมีเงื่อนไขในการเลือกรับประทานอาหารที่แตกต่างกันออกไป เช่น ข้อจำกัดจากการมีโรคประจำตัว หรือกรรมพันธุ์ที่แตกต่างกัน เป็นต้น

ภาวะทุพโภชนาการในผู้สูงอายุป้องกันได้อย่างไร

ภาวะทุพโภชนาการ คือ สภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายไม่ครบถ้วน หรือได้รับในสัดส่วนและปริมาณที่ไม่เหมาะสม แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ

ภาวะโภชนาการต่ำ ทำให้ร่างกายไม่แข็งแรง

ภาวะโภชนาการเกิน มักก่อให้เกิดโรคตามมา เช่น โรคอ้วนที่ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ

เราไปดูกันดีกว่าว่า ทำอย่างไรถึงจะสามารถป้องกันภาวะทุพโภชนาการในผู้สูงอายุได้บ้าง

1. สนับสนุนให้ผู้สูงอายุรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารครบ 5 หมู่ นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงอาหารที่เสี่ยงต่อโรคประจำตัวของผู้สูงอายุที่มีมาแต่เดิมด้วย

2. ควบคุมปริมาณอาหารที่รับประทานในแต่ละวันให้มีความเหมาะสม ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป หากผู้สูงวัยมีภาวะเบื่ออาหารก็ควรหากลยุทธ์ในการช่วยเพิ่มความอยากรับประทานอาหารให้กับท่าน เช่น ทำเมนูอาหารใหม่ ๆ ที่มีสีสันน่ารับประทาน หรือชวนท่านรับประทานอาหารพร้อมกันทั้งครอบครัว หรือรับประทานอาหารนอกบ้านเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ จะช่วยให้เจริญอาหารมากยิ่งขึ้น

3. งดให้ผู้สูงอายุรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนทุกชนิด

4. หมั่นพาผู้สูงอายุไปตรวจสุขภาพประจำปี ติดตามว่าร่างกายเสี่ยงต่อการเป็นภาวะทุพโภชนาการหรือไม่ เพื่อป้องกันและแก้ไขให้ถูกต้องเหมาะสมต่อไป

อย่างไรก็ตาม นอกจากการให้ความสำคัญกับโภชนาการที่ดีในการดูแลผู้สูงอายุแล้ว การดูแลเรื่องความเป็นอยู่ ความรู้สึก จิตใจ และอารมณ์ของผู้สูงอายุ ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลยเช่นเดียวกัน เพราะการดูแลผู้สูงวัยให้มีความสุขจำเป็นจะต้องคิดให้รอบด้าน และดูแลให้ครบทุกองค์ประกอบ เพื่อให้มั่นใจว่าผู้สูงอายุจะมีชีวิตบั้นปลายที่สุขสงบอย่างแท้จริง

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Scroll to Top